วันศุกร์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

อินเตอร์เน็ตกับการเรียนรู้ไร้พรมแดน


อินเตอร์เน็ตกับการเรียนรู้ไร้พรมแดน
           เทคโนโลยีสารสนเทศ ได้กลายเป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่ง ต่อการพัฒนาองค์กร และสังคมในทุกๆ ส่วน อย่างที่ไม่อาจจะปฏิเสธได้ นับวันเทคโนโลยีดังกล่าว ก็ยิ่งขยับเข้ามา ใกล้ตัวเรามากขึ้นทุกขณะ
การพัฒนาทางการศึกษาในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ทั้งในรูปแบบและขอบเขตของการศึกษาภายใต้การปฏิรูปทางการศึกษาตามเจตนารมณ์ของ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ปี พ.ศ.2542 และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทสำคัญเป็นอย่างมากในการพัฒนาการศึกษาที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อินเทอร์เน็ตที่ช่วยขยายแหล่งความรู้นั้นให้กระจายไปยังเยาวชนนักเรียนนักศึกษา โดยสามารถเข้าไปค้นคว้าด้วยตัวเองอย่างไร้ขีดจำกัด และขยายโอกาสการเรียนรู้ให้กระจายไปยังกลุ่มนักเรียนที่อยู่ในภูมิภาคห่างไกลด้วย

บทบาทของอินเทอร์เน็ตกับการศึกษา
อาจกล่าวได้ว่า อินเทอร์เน็ตเป็นอุบัติการณ์ครั้งสำคัญของสังคมโลกในช่วงรอยต่อระหว่างศตวรรษ ปัจจัยหลักที่ทำให้อินเทอร์เน็ตเป็น ปรากฏการณ์” (Phenomenon) ของยุคสมัยประกอบด้วย
ความที่อินเทอร์เน็ตใช้เทคโนโลยีเครือข่าย TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet Protocol) ที่ใช้ง่าย ทำให้กลายเป็นบริการที่ประชาชนทั่วไปใช้ได้อย่างสะดวกโดย ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ด้าน โปรแกรมคอมพิวเตอร์
ความที่อินเทอร์เน็ตเป็น เครือข่ายแห่งเครือข่าย” (Network of Networks) ทำให้เกิดการเชื่อมโยงกันอย่างเสรี โดยไม่มีการปิดกั้น
จุดดึงดูดของอินเทอร์เน็ตในการเผยแพร่และสืบค้นข้อมูลผ่านระบบ World Wide Web (WWW) ทำให้ปัจเจกบุคคลสามารถเผยแพร่ข้อมูลของตนเองต่อโลกได้ง่ายพอๆ กับการสืบค้นข้อมูลโดยใช้ระบบทะเบียนที่อยู่ (Uniform Resource Locator URL) และ Search Engines ต่างๆ
การสื่อสารผ่านระบบไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail หรือ E-mail) เป็นการปฏิวัติระบบการสื่อสารทั่วโลกด้วยความเร็ว และความแม่นยำ
การแลกเปลี่ยนสาระความรู้ผ่านระบบ Bulletin Board และ Discussion groups ต่างๆ ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้กันอย่างกว้างขวางและทั่วถึงมากขึ้น
เทคโนโลยีของการรับส่งข้อมูลผ่านระบบ File Transfer Protocol (FTP) ทำให้การรับส่งข้อมูลตั้งแต่เอกสาร 1 หน้าไปจนถึงหนังสือทั้งเล่มเป็นไปได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และประหยัด
พัฒนาการทางเทคโนโลยีของอินเทอร์เน็ตยังก้าวหน้าต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง เช่น การใช้ Internet Phone, การประชุมทางไกลผ่านอินเทอร์เน็ต
อินเทอร์เน็ตเป็นการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 2 ในรูปแบบของ วาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์” (Electronic Commerce) พร้อมๆ กับเป็นเครื่องมือชิ้นสำคัญ** ที่จะเปิดโลกทัศน์ใหม่ในวงการศึกษา
รูปแบบของการสืบค้นข้อมูลของภาษา HTML (HyperText Markup Language) นอกจากความสะดวกและง่ายต่อการใช้แล้วยังเป็นสภาพแวดล้อม ที่อาจมีผลทางจิตวิทยา ให้ผู้ใช้ค้นหาข้อมูลลึกลงไปเป็นชั้นๆ ด้วยคุณสมบัติของ Web Browser ในอินเทอร์เน็ต
จากคุณสมบัติและปัจจัยต่างๆ ที่อินเทอร์เน็ตมีให้แก่ผู้ใช้นั้น เป็นโอกาสในการนำมาใช้ประโยชน์ทางการศึกษาในรูปแบบต่างๆ กล่าวโดยรวมแล้วสาระสำคัญของบทบาทอินเทอร์เน็ตต่อภาคการศึกษามี ประเด็นดังต่อไปนี้
เปิดโอกาสให้ครู อาจารย์ และนักเรียน นักศึกษา สามารถเข้าถึงแหล่งความรู้ที่หลากหลายหรืออีกนัยหนึ่งมี ห้องสมุดโลก” (Library of the World) เพียงปลายนิ้วสัมผัส
ดังตัวอย่างรูปธรรมต่อไปนี้
 •ครู และนักเรียนสามารถค้นหาข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ทั่วโลก โดยไม่มีข้อจำกัดทางด้านสถานที่และเวลา (Anywhere & Anytime) โดยครู อาจารย์อาจจะเตรียมการสอนได้สมบูรณ์ขึ้น ในขณะที่นักเรียน นักศึกษาสามารถค้นคว้าหาข้อมูลได้สะดวกและหลากหลายมากขึ้น
คณาจารย์และนักเรียนที่ด้อยโอกาสอันเนื่องมาจากความห่างไกล ทุรกันดาร ขาดแหล่งห้องสมุดที่ดี สามารถก้าวกระโดดในการหาข้อมูลข่าวสารและความรู้ได้อย่าง เท่าเทียมมากยิ่งขึ้น จะมีโอกาสใดในประวัติศาสตร์ การเรียนรู้ที่ครูและนักเรียนของโรงเรียนสบเมยวิทยาคม จังหวัดแม่ฮ่องสอนสามารถศึกษาค้นคว้าเรื่อง สงครามอ่าวเปอร์เซีย จากโปรแกรม CNN Newsroom (http://www.nmis.org/NewsInteractive/CNN/Newsroom) หรือข้อมูลการรักษาสิ่งแวดล้อมของ US-EPA จาก Library of Congress ของรัฐสภาอเมริกา (http://www.lcweb.loc.gov) เป็นต้น
เด็กนักเรียนเองสามารถร่วมกันผลิตข้อมูลในแขนงต่างๆ อาทิเช่น ข้อมูลพันธุ์พืชของสิ่งแวดล้อมโดยรอบโรงเรียน ข้อมูลศิลปะวัฒนธรรมท้องถิ่นเพื่อเผยแพร่และแลกเปลี่ยน กับเด็กทั่วโลก ในขณะที่ครูสามารถนำเนื้อหาทางวิชาการที่มีประโยชน์ เช่น บทความทางวิชาการ เอกสารการสอน ฯลฯ ลงใน Web เพื่อแลกเปลี่ยนภายในวงการครู เป็นต้น

เปลี่ยนบทบาทของครูและนักเรียน
ด้วยนัยของการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการเรียนรู้จะทำให้บทบาทของ ครูปรับเปลี่ยนไปจากการ เน้นความเป็น ผู้สอนมาเป็น ผู้แนะนำ” (Facilitator) มากขึ้น ในขณะที่กระบวนการเรียนรู้ของนักเรียนจะเป็นการเรียนรู้ เชิงรุกมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากฐานข้อมูล ในอินเทอร์เน็ตเป็นปัจจัยบวกที่สำคัญประการหนึ่งที่เอื้ออำนวยให้ เด็กนักเรียนสามารถเรียนและค้นคว้าด้วยตนเอง (independent learning) ได้สะดวกรวดเร็วและมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามมีความจำเป็นที่จะต้องตระหนักว่าบทบาทและรูปแบบ ที่จะปรับเปลี่ยนไปนี้ จะต้องมีการเตรียมการที่ดีควบคู่ไปด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของครูที่จะต้องวางแผนการ ชี้แนะให้รัดกุมเพื่อให้การเรียนรู้ของเด็กมีประสิทธิผลดีขึ้น จากการเรียนตามครูสอน (passive learning) มาเป็นการเรียนรู้วิธีเรียน (Learning How to Learn) และการเรียนด้วยความอยากรู้ (active learning) อย่างมีทิศทาง

พัฒนาการสื่อสารระหว่างครูและนักเรียน
ผลสืบเนื่องจากการที่อินเทอร์เน็ตสามารถให้บริการไปรษณีย์ อิเล็กทรอนิกส์ซึ่งมีความสะดวก รวดเร็ว และง่ายในการใช้ทำให้เกิดการสื่อสาร (communications) เพิ่มมากขึ้นในระบบการศึกษา ทั้งที่เป็นการสื่อสารระหว่างครูกับครู ครูกับนักเรียนและระหว่างนักเรียนกับนักเรียนกันเอง ทั้งนี้โดยมิได้ลดทอนการสื่อสารในรูปแบบเดิม ปัจจุบันคณาจารย์หลายท่านในหลายสถาบันในประเทศไทยใช้อินเทอร์เน็ต เป็นสื่อกลาง ในการให้การบ้าน รับการบ้าน และตรวจส่งคืนการบ้าน ในขณะเดียวกันการสื่อสารระหว่างนักเรียนสามารถช่วยส่งเสริมการทำงาน กลุ่ม การปรึกษาหารือกับครูและเพื่อนนักเรียน ในเชิงวิชาการ ตลอดจนการติดต่อกับเพื่อนชาวต่างประเทศ ที่มีโอกาสมากขึ้นเป็นลำดับ

การศึกษาทางไกล (Distance Learning)
ความหมาย คือ สื่อการเรียนการสอนทางไกลซึ่งผู้เรียนจะเรียนด้วยตัวเองที่บ้าน โดยไม่ต้องเดินทางไปเรียนยังสถาบันการศึกษา และสมัครเรียนได้โดยไม่จำเป็นต้องเป็นนักเรียนหรือนักศึกษาเท่านั้น
สาเหตุและปัจจัยสำคัญที่ ทำก่อให้เกิดการพัฒนานวัตกรรมการศึกษาในรูปแบบของ การศึกษาทางไกล หรือการศึกษาไร้พรมแดนคือ การพัฒนาทางด้านเทคโนโลยี การผสมผสานเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีโทรคมนาคม ที่ก่อให้เกิดเทคโนโลยีสารสนเทศ และภาวะการขยายตัวอย่างรวดเร็วของประชากร ทำให้สถาบันการศึกษาต่าง ๆ ต้องขยายพื้นที่การจัดการศึกษาเพิ่มมากขึ้น
การศึกษาทางไกล (Distance Learning) จึง หมายถึงการเรียนการสอนที่ผู้เรียนและผู้สอนอยู่ไกลกัน ใช้วิธีการถ่ายทอดเนื้อหาสาระและประสบการณ์โดยอาศัยสื่อประสมในหลายรูปแบบ ได้แก่ สื่อที่เป็นหนังสือ สื่อทางไปรษณีย์ ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ วิทยุกระจายเสียง โทรทัศน์ การประชุมทางไกลด้วยภาพและเสียง (Video Conference) อินเตอร์เน็ต (Internet) และการสอนเสริม เป็นต้น รวมทั้งการใช้ศูนย์บริการการศึกษาเป็นหลัก ช่วยให้ผู้เรียนที่อยู่ต่างถิ่นต่างที่กันสามารถศึกษาหาความรู้ได้
การศึกษาทางไกล เป็นนวัตกรรมทางการศึกษาที่เกิดขึ้นในสมัยศตวรรษที่ ๒๐ เพื่อสนองความต้องการของสังคมปัจจุบันซึ่งเป็นสังคมข่าวสาร หรือสังคมของการเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสม เป็นการเปิดโอกาสทางการศึกษาไปสู่บุคคลกลุ่มต่าง ๆ อย่างทั่วถึง ทำให้เกิดการศึกษาตลอดชีวิต ที่บุคคลสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตได้อย่างต่อเนื่อง

ความสำคัญของการศึกษาทางไกล
1. เป็นการเพิ่มทางเลือกในการกระจายโอกาส และยกระดับการศึกษาของผู้เรียน
2. เป็นตัวการเปลี่ยนแปลงกระบวนวิธีการเรียนรู้และการจัดการศึกษาของสังคมในปัจจุบันและอนาคต
3. ช่วยสร้างความเสมอภาคในการเข้าถึงบริการทางการศึกษาที่มีคุณภาพ ขณะเดียวกันก็ช่วยลดอุปสรรคด้านทรัพยากร สถานที่ เวลา และบุคลากร
4. ช่วยลดภาระของครูทั้งในด้านการเตรียมการ การใช้เวลา และยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการเรียน การสอนให้มีคุณภาพ
5. การเรียนการสอนทางไกลสามารถ แพร่กระจายและ เข้าถึงตัวบุคคลได้อย่างหลากหลายและกว้างขวาง

องค์ประกอบหลักของการศึกษาทางไกล
1. ผู้เรียน จะเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ผู้เรียนมีอิสระในการกำหนดเวลา สถานที่ และวิธีเรียนของตนเอง โดยสามารถเรียนรู้ได้จากแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ที่หลากหลาย เช่น จากการสอนโดยผ่านการสื่อสารทางไกล วีดิทัศน์ที่ผลิตเป็นรายการ วีดิทัศน์ที่บันทึกจากการสอน ตำรา หนังสือ เอกสารประกอบการสอนในรูปของบทเรียนด้วยตนเอง คอมพิวเตอร์ช่วยสอน และระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เป็นต้น
2. ผู้สอน จะเน้นการใช้สื่อการสอนที่มีคุณภาพและหลากหลายรูปแบบซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนรู้ได้ด้วยตนเอง หรือเรียนเสริมในภายหลัง เนื่องจากผู้สอนมีโอกาสพบผู้เรียนโดยตรงน้อยมาก คือมีโอกาสพบปะผู้เรียนแบบเผชิญหน้าในตอนแรกและตอนท้ายของภาคเรียน หรือไปสอนเสริมในบางบทเรียนที่พิจารณาเห็นว่ายากต่อการเข้าใจเท่านั้น
3. การจัดระบบบริหารและบริการ เป็นการจัดโครงสร้างอื่นมาเสริมการสอนทางไกลโดยตรง เช่น อาจมีครูที่ปรึกษาประจำตัว ผู้เรียน มีศูนย์บริการการศึกษาที่ใกล้ตัวผู้เรียน รวมทั้งระบบการผลิตและจัดส่งสื่อให้ผู้เรียนโดยตรงอย่างมีประสิทธิภาพ
4. การควบคุมคุณภาพ จะจัดทำอย่างเป็นระบบ และดำเนินการอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ โดยเน้นการควบคุมคุณภาพในด้านองค์ประกอบของการสอนทางไกล เช่น ขั้นตอนการวางแผน กระบวนการเรียนการสอน วิธีการประเมินผล และการปรับปรุงกระบวนการ เป็นต้น
5. การติดต่อระหว่างผู้เรียน ผู้สอน และสถาบันการศึกษา เป็นการติดต่อแบบ ๒ ทาง โดยใช้โทรศัพท์ โทรสาร ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือจดหมาย เป็นต้น

แหล่งที่มา :  http://www.knsrz.com/view/210

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น