วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

องค์ประกอบของ web opac


ระบบ Opac มีระบบพื้นฐาน 4 ส่วน คือ
            1. ระบบคอมพิวเตอร์ (Computer System)  ประกอบด้วย
                        - ฮาร์ดแวร์ (Hardware)   
                        - ซอร์ฟแวร์ (Sofeware) 
                        - อุปกรณ์นำเข้าจ้อมูล (Input Devices)
                        - อุปกรณ์แสดงผลข้อมูล (Output Devices)
             2. ฐานข้อมูล (Database) ฐานข้อมูลเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของระบบออนไลน์  ซึ่งประกอบด้วย
                        - แฟ้มข้อมูลบรรณานุกรม (Bibleographical File) 
                        - แฟ้มข้อมูลรายการหลักฐาน (Authority File) 
                        - แฟ้มข้อมูลผกผัน (Inverted File)
   โดยมีรายละเอียดดังนี้
                แฟ้มข้อมูลบรรณานุกรม เป็นแฟ้มสำหรับจัดเก็บรายการบรรณานุกรมไว้ในรูปแบบที่เครื่องอ่านได้ (MARC Format) ประกอบด้วยเขตข้อมูลหลัก และเขตข้อมูลย่อยซึ่งมีกำหนดว่าเขตข้อมูลใดจะจัดทำดัชนี หรือใช้เป็นจุดเข้าถึง (Access Point) ได้บ้าง
                แฟ้มรายการหลักฐานเป็นแฟ้มสำหรับจัดเก็บ และตรวจสอบแก้ไขมาตารฐานของรายการบรรณานุกรมซึ่งแฟ้มรายการหลักนี้จะควบคุมระบบการสืบค้นให้มีประสิทธิภาพ
                แฟ้มข้อมูลผกผัน เป็นแฟ้มข้อมูลที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถใช้กลยุทธ์ในการสืบค้นที่ซับซ้อนได้รวดเร็วขึ้นโดยการดึงข้อมูลมาจากแฟ้มข้อมูลบรรณานุกรม ซึ่งแต่ละรายการจะมีสัญลักษณ์ระบุไว้เพื่อประโยชน์ในการเข้าถึง แฟ้มข้อมูลผกผันทำงานตลอดเวลาที่มีการสืบค้นในขณะที่แฟ้มข้อมูลบรรณานุกรมทำงานเมื่อมีการแสดงผลการสืบค้นหรือมีการพิมพ์ผลการสืบค้น
               3. ผู้ใช้ (User) เป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดของระบบสารสนเทศ ความสำเร็จของการสืบค้นสารสนเทศขึ้นอยู่กับทักษะและภูมิหลังของผู้ใช้ ดังนั้นจึงควรมีการศึกษาพฤติกรรมการสืบค้น เช่น ความรู้เกี่ยวกับหัวเรื่อง ทักษะการใช้แป้นพิมพ์ การสะกดคำ รวมทั้งมโนทัศน์ในการสืบค้นที่ยืดหยุ่นได้เมื่อมีปัญหาการสืบค้น
               4.ระบบการเชื่อมสานระหว่างมนุษย์และคอมพิวเตอร์ (Human Computer Interface) เป็นระบบที่เน้นหนักที่รูปแบบการเชื่อมประสาน หรือภาษาที่ใช้ในการสื่อสารระหว่างมนุษย์กับคอมพิวเตอร์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ใช้สืบค้นสารสนเทศได้ง่ายขึ้น และลดความผิดพลาดของผู้ใช้ รวมทั้งได้รับผลการสืบค้นที่ตรงกับความต้องการ ซึ่งปัจจุบันการเชื่อมประสานกับคอมพิวเตอร์ หรือเมาส์จะแสดงผลทางหน้าจอทันที ซึ่งรูปแบบการเชื่อมประสาน มีอยู่ 3รูปแบบ คือ
                            4.1 การเชื่อมประสานแบบเมนู (Menu Interface)คอมพิวเตอร์ของห้องสมุดจะแสดงรายการคำสั่ง โดยแต่ละรายการมีการกำหนดตัวอักษรบนแป้นเป็นตัวชี้บอกให้ผู้ใช้ได้เลือกเคาะแป้นพิมพ์ป้อนคำสั่งตามที่ต้องการโดยใช้เครื่องหมายลูกศร ขึ้น-ลง ซ้าย-ขวา 
                            4.2 การเชื่อมประสานแบบใช้คำสั่ง (Command Oriented Interface) การเชื่อมประสานเหล่านี้ผู้ใช้ต้องพิมพ์คำสั่งที่ต้องการ ซึ่งส่วนใหญ่พื้นที่ในการรับคำสั่งจะอยู่แถวล่างสุดของจอภาพ และพื้นที่ที่เหลือของหน้าจอ อธิบายวิธีการใช้คำสั่ง การเชื่อมประสานแบบนี้ผู้ใช้ต้องจำคำสั่งและโครงสร้างของไวยากรณ์ให้ได้ 
            ข้อดีคือสามารถกำหนดคำสั่งให้ซับซ้อนกว่าระบบเมนูโดยเฉพาะการสืบค้นเทคนิกแบบตรรกบู
ลิน ซึ่งผู้ใช้สามารถกำหนดคำเชื่อมได้มากกว่า
                            4.3 การเชื่อมประสานแบบภาพ (Graphic User Interface) เป็นการเชื่อมประสานด้วยรูปภาพโดยใช้ Icon, Scrollbars, Pull-down, Menu Mutiple, Window เป็นการทำงานด้วยระบบ Window เป็นหลัก ผู้ใช้ป้อนสำสั่งโดยการใช้เมาส์ให้ดำเนินการสืบค้นสารนิเทศ


แหล่งที่มา : http://mulic.comuf.com/index.php?option=com_content&view=category&id=36&Itemid=11
                    

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น