วันศุกร์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

แนวโน้มอินเตอร์เน็ตในอนาคต


แนวโน้มอินเตอร์เน็ตในอนาคต

·คอมพิวเตอร์จะเป็นเครื่องส่งและรับสารแทนอุปกรณ์อื่นๆ

·รูปแบบของการสื่อสารจะเปลี่ยนไป (มาตราฐานการสื่อสารในอนาคต) เส้นแบ่งระหว่างความเป็นสื่อสาธารณะ กับสื่อส่วนตัวจะเปลี่ยนไป

·แหล่งธุรกิจที่ใหญ่ที่สุด

·ระบบการศึกษาจะเปลี่ยนไป

·จะเปลี่ยนวิถีชีวิตของผู้คน (การทำงาน, การตลาด ฯลฯ)

    ·ความเลื่อมล้ำระหว่างส่วนกลางและภูมิภาคจะหมดไป

·กลไกการควบคุมของรัฐจะเปลี่ยนไป โดยกฎหมายจะมีการเปลี่ยนแปลงหลายฉบับ

อินเตอร์เน็ตกับการเรียนรู้ไร้พรมแดน


อินเตอร์เน็ตกับการเรียนรู้ไร้พรมแดน
           เทคโนโลยีสารสนเทศ ได้กลายเป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่ง ต่อการพัฒนาองค์กร และสังคมในทุกๆ ส่วน อย่างที่ไม่อาจจะปฏิเสธได้ นับวันเทคโนโลยีดังกล่าว ก็ยิ่งขยับเข้ามา ใกล้ตัวเรามากขึ้นทุกขณะ
การพัฒนาทางการศึกษาในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ทั้งในรูปแบบและขอบเขตของการศึกษาภายใต้การปฏิรูปทางการศึกษาตามเจตนารมณ์ของ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ปี พ.ศ.2542 และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทสำคัญเป็นอย่างมากในการพัฒนาการศึกษาที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อินเทอร์เน็ตที่ช่วยขยายแหล่งความรู้นั้นให้กระจายไปยังเยาวชนนักเรียนนักศึกษา โดยสามารถเข้าไปค้นคว้าด้วยตัวเองอย่างไร้ขีดจำกัด และขยายโอกาสการเรียนรู้ให้กระจายไปยังกลุ่มนักเรียนที่อยู่ในภูมิภาคห่างไกลด้วย

บทบาทของอินเทอร์เน็ตกับการศึกษา
อาจกล่าวได้ว่า อินเทอร์เน็ตเป็นอุบัติการณ์ครั้งสำคัญของสังคมโลกในช่วงรอยต่อระหว่างศตวรรษ ปัจจัยหลักที่ทำให้อินเทอร์เน็ตเป็น ปรากฏการณ์” (Phenomenon) ของยุคสมัยประกอบด้วย
ความที่อินเทอร์เน็ตใช้เทคโนโลยีเครือข่าย TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet Protocol) ที่ใช้ง่าย ทำให้กลายเป็นบริการที่ประชาชนทั่วไปใช้ได้อย่างสะดวกโดย ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ด้าน โปรแกรมคอมพิวเตอร์
ความที่อินเทอร์เน็ตเป็น เครือข่ายแห่งเครือข่าย” (Network of Networks) ทำให้เกิดการเชื่อมโยงกันอย่างเสรี โดยไม่มีการปิดกั้น
จุดดึงดูดของอินเทอร์เน็ตในการเผยแพร่และสืบค้นข้อมูลผ่านระบบ World Wide Web (WWW) ทำให้ปัจเจกบุคคลสามารถเผยแพร่ข้อมูลของตนเองต่อโลกได้ง่ายพอๆ กับการสืบค้นข้อมูลโดยใช้ระบบทะเบียนที่อยู่ (Uniform Resource Locator URL) และ Search Engines ต่างๆ
การสื่อสารผ่านระบบไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail หรือ E-mail) เป็นการปฏิวัติระบบการสื่อสารทั่วโลกด้วยความเร็ว และความแม่นยำ
การแลกเปลี่ยนสาระความรู้ผ่านระบบ Bulletin Board และ Discussion groups ต่างๆ ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้กันอย่างกว้างขวางและทั่วถึงมากขึ้น
เทคโนโลยีของการรับส่งข้อมูลผ่านระบบ File Transfer Protocol (FTP) ทำให้การรับส่งข้อมูลตั้งแต่เอกสาร 1 หน้าไปจนถึงหนังสือทั้งเล่มเป็นไปได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และประหยัด
พัฒนาการทางเทคโนโลยีของอินเทอร์เน็ตยังก้าวหน้าต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง เช่น การใช้ Internet Phone, การประชุมทางไกลผ่านอินเทอร์เน็ต
อินเทอร์เน็ตเป็นการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 2 ในรูปแบบของ วาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์” (Electronic Commerce) พร้อมๆ กับเป็นเครื่องมือชิ้นสำคัญ** ที่จะเปิดโลกทัศน์ใหม่ในวงการศึกษา
รูปแบบของการสืบค้นข้อมูลของภาษา HTML (HyperText Markup Language) นอกจากความสะดวกและง่ายต่อการใช้แล้วยังเป็นสภาพแวดล้อม ที่อาจมีผลทางจิตวิทยา ให้ผู้ใช้ค้นหาข้อมูลลึกลงไปเป็นชั้นๆ ด้วยคุณสมบัติของ Web Browser ในอินเทอร์เน็ต
จากคุณสมบัติและปัจจัยต่างๆ ที่อินเทอร์เน็ตมีให้แก่ผู้ใช้นั้น เป็นโอกาสในการนำมาใช้ประโยชน์ทางการศึกษาในรูปแบบต่างๆ กล่าวโดยรวมแล้วสาระสำคัญของบทบาทอินเทอร์เน็ตต่อภาคการศึกษามี ประเด็นดังต่อไปนี้
เปิดโอกาสให้ครู อาจารย์ และนักเรียน นักศึกษา สามารถเข้าถึงแหล่งความรู้ที่หลากหลายหรืออีกนัยหนึ่งมี ห้องสมุดโลก” (Library of the World) เพียงปลายนิ้วสัมผัส
ดังตัวอย่างรูปธรรมต่อไปนี้
 •ครู และนักเรียนสามารถค้นหาข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ทั่วโลก โดยไม่มีข้อจำกัดทางด้านสถานที่และเวลา (Anywhere & Anytime) โดยครู อาจารย์อาจจะเตรียมการสอนได้สมบูรณ์ขึ้น ในขณะที่นักเรียน นักศึกษาสามารถค้นคว้าหาข้อมูลได้สะดวกและหลากหลายมากขึ้น
คณาจารย์และนักเรียนที่ด้อยโอกาสอันเนื่องมาจากความห่างไกล ทุรกันดาร ขาดแหล่งห้องสมุดที่ดี สามารถก้าวกระโดดในการหาข้อมูลข่าวสารและความรู้ได้อย่าง เท่าเทียมมากยิ่งขึ้น จะมีโอกาสใดในประวัติศาสตร์ การเรียนรู้ที่ครูและนักเรียนของโรงเรียนสบเมยวิทยาคม จังหวัดแม่ฮ่องสอนสามารถศึกษาค้นคว้าเรื่อง สงครามอ่าวเปอร์เซีย จากโปรแกรม CNN Newsroom (http://www.nmis.org/NewsInteractive/CNN/Newsroom) หรือข้อมูลการรักษาสิ่งแวดล้อมของ US-EPA จาก Library of Congress ของรัฐสภาอเมริกา (http://www.lcweb.loc.gov) เป็นต้น
เด็กนักเรียนเองสามารถร่วมกันผลิตข้อมูลในแขนงต่างๆ อาทิเช่น ข้อมูลพันธุ์พืชของสิ่งแวดล้อมโดยรอบโรงเรียน ข้อมูลศิลปะวัฒนธรรมท้องถิ่นเพื่อเผยแพร่และแลกเปลี่ยน กับเด็กทั่วโลก ในขณะที่ครูสามารถนำเนื้อหาทางวิชาการที่มีประโยชน์ เช่น บทความทางวิชาการ เอกสารการสอน ฯลฯ ลงใน Web เพื่อแลกเปลี่ยนภายในวงการครู เป็นต้น

เปลี่ยนบทบาทของครูและนักเรียน
ด้วยนัยของการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการเรียนรู้จะทำให้บทบาทของ ครูปรับเปลี่ยนไปจากการ เน้นความเป็น ผู้สอนมาเป็น ผู้แนะนำ” (Facilitator) มากขึ้น ในขณะที่กระบวนการเรียนรู้ของนักเรียนจะเป็นการเรียนรู้ เชิงรุกมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากฐานข้อมูล ในอินเทอร์เน็ตเป็นปัจจัยบวกที่สำคัญประการหนึ่งที่เอื้ออำนวยให้ เด็กนักเรียนสามารถเรียนและค้นคว้าด้วยตนเอง (independent learning) ได้สะดวกรวดเร็วและมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามมีความจำเป็นที่จะต้องตระหนักว่าบทบาทและรูปแบบ ที่จะปรับเปลี่ยนไปนี้ จะต้องมีการเตรียมการที่ดีควบคู่ไปด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของครูที่จะต้องวางแผนการ ชี้แนะให้รัดกุมเพื่อให้การเรียนรู้ของเด็กมีประสิทธิผลดีขึ้น จากการเรียนตามครูสอน (passive learning) มาเป็นการเรียนรู้วิธีเรียน (Learning How to Learn) และการเรียนด้วยความอยากรู้ (active learning) อย่างมีทิศทาง

พัฒนาการสื่อสารระหว่างครูและนักเรียน
ผลสืบเนื่องจากการที่อินเทอร์เน็ตสามารถให้บริการไปรษณีย์ อิเล็กทรอนิกส์ซึ่งมีความสะดวก รวดเร็ว และง่ายในการใช้ทำให้เกิดการสื่อสาร (communications) เพิ่มมากขึ้นในระบบการศึกษา ทั้งที่เป็นการสื่อสารระหว่างครูกับครู ครูกับนักเรียนและระหว่างนักเรียนกับนักเรียนกันเอง ทั้งนี้โดยมิได้ลดทอนการสื่อสารในรูปแบบเดิม ปัจจุบันคณาจารย์หลายท่านในหลายสถาบันในประเทศไทยใช้อินเทอร์เน็ต เป็นสื่อกลาง ในการให้การบ้าน รับการบ้าน และตรวจส่งคืนการบ้าน ในขณะเดียวกันการสื่อสารระหว่างนักเรียนสามารถช่วยส่งเสริมการทำงาน กลุ่ม การปรึกษาหารือกับครูและเพื่อนนักเรียน ในเชิงวิชาการ ตลอดจนการติดต่อกับเพื่อนชาวต่างประเทศ ที่มีโอกาสมากขึ้นเป็นลำดับ

การศึกษาทางไกล (Distance Learning)
ความหมาย คือ สื่อการเรียนการสอนทางไกลซึ่งผู้เรียนจะเรียนด้วยตัวเองที่บ้าน โดยไม่ต้องเดินทางไปเรียนยังสถาบันการศึกษา และสมัครเรียนได้โดยไม่จำเป็นต้องเป็นนักเรียนหรือนักศึกษาเท่านั้น
สาเหตุและปัจจัยสำคัญที่ ทำก่อให้เกิดการพัฒนานวัตกรรมการศึกษาในรูปแบบของ การศึกษาทางไกล หรือการศึกษาไร้พรมแดนคือ การพัฒนาทางด้านเทคโนโลยี การผสมผสานเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีโทรคมนาคม ที่ก่อให้เกิดเทคโนโลยีสารสนเทศ และภาวะการขยายตัวอย่างรวดเร็วของประชากร ทำให้สถาบันการศึกษาต่าง ๆ ต้องขยายพื้นที่การจัดการศึกษาเพิ่มมากขึ้น
การศึกษาทางไกล (Distance Learning) จึง หมายถึงการเรียนการสอนที่ผู้เรียนและผู้สอนอยู่ไกลกัน ใช้วิธีการถ่ายทอดเนื้อหาสาระและประสบการณ์โดยอาศัยสื่อประสมในหลายรูปแบบ ได้แก่ สื่อที่เป็นหนังสือ สื่อทางไปรษณีย์ ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ วิทยุกระจายเสียง โทรทัศน์ การประชุมทางไกลด้วยภาพและเสียง (Video Conference) อินเตอร์เน็ต (Internet) และการสอนเสริม เป็นต้น รวมทั้งการใช้ศูนย์บริการการศึกษาเป็นหลัก ช่วยให้ผู้เรียนที่อยู่ต่างถิ่นต่างที่กันสามารถศึกษาหาความรู้ได้
การศึกษาทางไกล เป็นนวัตกรรมทางการศึกษาที่เกิดขึ้นในสมัยศตวรรษที่ ๒๐ เพื่อสนองความต้องการของสังคมปัจจุบันซึ่งเป็นสังคมข่าวสาร หรือสังคมของการเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสม เป็นการเปิดโอกาสทางการศึกษาไปสู่บุคคลกลุ่มต่าง ๆ อย่างทั่วถึง ทำให้เกิดการศึกษาตลอดชีวิต ที่บุคคลสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตได้อย่างต่อเนื่อง

ความสำคัญของการศึกษาทางไกล
1. เป็นการเพิ่มทางเลือกในการกระจายโอกาส และยกระดับการศึกษาของผู้เรียน
2. เป็นตัวการเปลี่ยนแปลงกระบวนวิธีการเรียนรู้และการจัดการศึกษาของสังคมในปัจจุบันและอนาคต
3. ช่วยสร้างความเสมอภาคในการเข้าถึงบริการทางการศึกษาที่มีคุณภาพ ขณะเดียวกันก็ช่วยลดอุปสรรคด้านทรัพยากร สถานที่ เวลา และบุคลากร
4. ช่วยลดภาระของครูทั้งในด้านการเตรียมการ การใช้เวลา และยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการเรียน การสอนให้มีคุณภาพ
5. การเรียนการสอนทางไกลสามารถ แพร่กระจายและ เข้าถึงตัวบุคคลได้อย่างหลากหลายและกว้างขวาง

องค์ประกอบหลักของการศึกษาทางไกล
1. ผู้เรียน จะเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ผู้เรียนมีอิสระในการกำหนดเวลา สถานที่ และวิธีเรียนของตนเอง โดยสามารถเรียนรู้ได้จากแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ที่หลากหลาย เช่น จากการสอนโดยผ่านการสื่อสารทางไกล วีดิทัศน์ที่ผลิตเป็นรายการ วีดิทัศน์ที่บันทึกจากการสอน ตำรา หนังสือ เอกสารประกอบการสอนในรูปของบทเรียนด้วยตนเอง คอมพิวเตอร์ช่วยสอน และระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เป็นต้น
2. ผู้สอน จะเน้นการใช้สื่อการสอนที่มีคุณภาพและหลากหลายรูปแบบซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนรู้ได้ด้วยตนเอง หรือเรียนเสริมในภายหลัง เนื่องจากผู้สอนมีโอกาสพบผู้เรียนโดยตรงน้อยมาก คือมีโอกาสพบปะผู้เรียนแบบเผชิญหน้าในตอนแรกและตอนท้ายของภาคเรียน หรือไปสอนเสริมในบางบทเรียนที่พิจารณาเห็นว่ายากต่อการเข้าใจเท่านั้น
3. การจัดระบบบริหารและบริการ เป็นการจัดโครงสร้างอื่นมาเสริมการสอนทางไกลโดยตรง เช่น อาจมีครูที่ปรึกษาประจำตัว ผู้เรียน มีศูนย์บริการการศึกษาที่ใกล้ตัวผู้เรียน รวมทั้งระบบการผลิตและจัดส่งสื่อให้ผู้เรียนโดยตรงอย่างมีประสิทธิภาพ
4. การควบคุมคุณภาพ จะจัดทำอย่างเป็นระบบ และดำเนินการอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ โดยเน้นการควบคุมคุณภาพในด้านองค์ประกอบของการสอนทางไกล เช่น ขั้นตอนการวางแผน กระบวนการเรียนการสอน วิธีการประเมินผล และการปรับปรุงกระบวนการ เป็นต้น
5. การติดต่อระหว่างผู้เรียน ผู้สอน และสถาบันการศึกษา เป็นการติดต่อแบบ ๒ ทาง โดยใช้โทรศัพท์ โทรสาร ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือจดหมาย เป็นต้น

แหล่งที่มา :  http://www.knsrz.com/view/210

ข้อดี-ข้อจำกัดของ Web OPAC


                         ข้อดีของ Web OPAC 
                    OPAC และ Web Opac มีข้อดีในการอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้ในการสืบค้นสารสนเทศ ดังนี้ 
                          - วิธีการเข้าถึงรายการต่างๆ ของหนังสือพิมพ์หรือสิ่งพิมพ์ของห้องสมุดทำได้กว้างขวางกว่ารายการรูปแบบอื่นๆ และทำให้ผู้ใช้สามารถสืบค้นสารสนเทศด้วยคอมพิวเตอร์
                          - เทคนิคการสืบค้นสารนิเทศแบบต่างๆ ช่วยสืบค้นหัวเรื่องที่ซับซ้อนได้ง่าย 
                          - ประหยัดเวลา และได้รับความสะดวกรวดเร็วในการสืบค้นสารนิเทศ
                          - สามารถสืบค้นสารนิเทศจากเทอร์มินัลซึ่งอยู่ห่างไกลจากห้องสมุด  ซึ่งทำให้ระบบเข้าถึงรายการเป็นรูปของการกระจาย (Decentralized) มากขึ้น
                          - สามารถรวบรวมข้อมูลที่ต้องการได้อย่างครบถ้วน
                          - มีความยืดหยุ่นที่สามารถเพิ่มหรือลบรายการต่างๆ ได้โดยไม่กระทบรายการอื่น
                          - มีความเป็นปัจจุบันมากกว่ารายการอื่น สามารถเพิ่มเติมทรัพยากรสารนิเทศรูปแบบใหม่ๆ หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขรายการลงฐานข้อมูลได้ง่าย และรวดเร็ว
                          - เป็นระบบที่มีความยืดยุ่นในการสืบค้นสารนิเทศต่างๆในฐานข้อมูลได้มากกว่ารายการรูปแบบอื่นๆ
                          - เป็นระบบที่มีการโต้ตอบ (Interaction) เป็นการโต้ตอบระหว่างผู้ใช้คอมพิวเตอร์และรายการทรัพยากรสารสนเทศของแหล่งสารสนเทศ และผู้ใช้จะได้รับการตอบที่รวดเร็ดเร็ว
                          - ผู้ใช้สามารถเข้าถึงรายการบรรณานุกรม (Online Catalogs) โดยผ่านเครื่องปลายทางซึ่งติดตั้งไว้ภายในที่ต่างๆของสารนิเทศ
                          - ง่ายต่อการใช้และการเรียนรู้การใช้ระบบ (User Friendly) เพราะมีคำแนะนำในการใช้ระบบอยู่ในฐานข้อมูล ซึ่งผู้ใช้สามารถศึกษาได้ด้วยตนเอง
                          - รายการต่างๆที่สืบค้นได้จากฐานข้อมูล แสดงให้เห็นบนหน้าจอภาพจากแหล่งสารสนเทศ
                          - สามารถตรวจสอบประวัติผู้ใช้ เช่น ชื่อ ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ รวมทั้งค่าปรับ และวันที่กำหนดส่ง
                          - สามารถจองและยกเลิกสารสนเทศที่ต้องการได้ และดูสถานภาพของสารสนเทศได้
                          - สามารถบันทึกรายการบรรณานุกรมที่ต้องการลงในแฟ้มข้อมูล

                ข้อจำกัดของ Web OPAC
                     ทุกระบบมีข้อจำกัด จะมีมากมีน้อยเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับซอร์ฟแวร์ของห้องสมุดอัตโนมัตินั้นๆ ว่ามีการออกแบบระบบตรงกับความต้องการ และมีความเหมาะสมตรงกับสถาบันบริการสารสนเทศหรือไม่ ข้อเสียของระบบมีดังนี้
                            - การนำระบบ Opac และ Web Opac เข้ามาใช้ต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงในการจัดหาอุปกรณ์ต่างๆ
                            - เนื่องจากระบบ Opac และ Web Opac มีการดำเนินงานด้วยคอมพิวเตอร์ ในกรณีที่คอมพิวเตอร์ขัดข้องการสืบค้นก็จะหยุดชะงักไปด้วย
                            - ถ้าผู้ใช้ขาดความชำนาญในเรื่องระบบหรือด้านคอมพิวเตอร์จะทำให้ใช้งานระบบได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ
                            - ต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงในการดูแลรักษาระบบ


วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

องค์ประกอบของ web opac


ระบบ Opac มีระบบพื้นฐาน 4 ส่วน คือ
            1. ระบบคอมพิวเตอร์ (Computer System)  ประกอบด้วย
                        - ฮาร์ดแวร์ (Hardware)   
                        - ซอร์ฟแวร์ (Sofeware) 
                        - อุปกรณ์นำเข้าจ้อมูล (Input Devices)
                        - อุปกรณ์แสดงผลข้อมูล (Output Devices)
             2. ฐานข้อมูล (Database) ฐานข้อมูลเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของระบบออนไลน์  ซึ่งประกอบด้วย
                        - แฟ้มข้อมูลบรรณานุกรม (Bibleographical File) 
                        - แฟ้มข้อมูลรายการหลักฐาน (Authority File) 
                        - แฟ้มข้อมูลผกผัน (Inverted File)
   โดยมีรายละเอียดดังนี้
                แฟ้มข้อมูลบรรณานุกรม เป็นแฟ้มสำหรับจัดเก็บรายการบรรณานุกรมไว้ในรูปแบบที่เครื่องอ่านได้ (MARC Format) ประกอบด้วยเขตข้อมูลหลัก และเขตข้อมูลย่อยซึ่งมีกำหนดว่าเขตข้อมูลใดจะจัดทำดัชนี หรือใช้เป็นจุดเข้าถึง (Access Point) ได้บ้าง
                แฟ้มรายการหลักฐานเป็นแฟ้มสำหรับจัดเก็บ และตรวจสอบแก้ไขมาตารฐานของรายการบรรณานุกรมซึ่งแฟ้มรายการหลักนี้จะควบคุมระบบการสืบค้นให้มีประสิทธิภาพ
                แฟ้มข้อมูลผกผัน เป็นแฟ้มข้อมูลที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถใช้กลยุทธ์ในการสืบค้นที่ซับซ้อนได้รวดเร็วขึ้นโดยการดึงข้อมูลมาจากแฟ้มข้อมูลบรรณานุกรม ซึ่งแต่ละรายการจะมีสัญลักษณ์ระบุไว้เพื่อประโยชน์ในการเข้าถึง แฟ้มข้อมูลผกผันทำงานตลอดเวลาที่มีการสืบค้นในขณะที่แฟ้มข้อมูลบรรณานุกรมทำงานเมื่อมีการแสดงผลการสืบค้นหรือมีการพิมพ์ผลการสืบค้น
               3. ผู้ใช้ (User) เป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดของระบบสารสนเทศ ความสำเร็จของการสืบค้นสารสนเทศขึ้นอยู่กับทักษะและภูมิหลังของผู้ใช้ ดังนั้นจึงควรมีการศึกษาพฤติกรรมการสืบค้น เช่น ความรู้เกี่ยวกับหัวเรื่อง ทักษะการใช้แป้นพิมพ์ การสะกดคำ รวมทั้งมโนทัศน์ในการสืบค้นที่ยืดหยุ่นได้เมื่อมีปัญหาการสืบค้น
               4.ระบบการเชื่อมสานระหว่างมนุษย์และคอมพิวเตอร์ (Human Computer Interface) เป็นระบบที่เน้นหนักที่รูปแบบการเชื่อมประสาน หรือภาษาที่ใช้ในการสื่อสารระหว่างมนุษย์กับคอมพิวเตอร์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ใช้สืบค้นสารสนเทศได้ง่ายขึ้น และลดความผิดพลาดของผู้ใช้ รวมทั้งได้รับผลการสืบค้นที่ตรงกับความต้องการ ซึ่งปัจจุบันการเชื่อมประสานกับคอมพิวเตอร์ หรือเมาส์จะแสดงผลทางหน้าจอทันที ซึ่งรูปแบบการเชื่อมประสาน มีอยู่ 3รูปแบบ คือ
                            4.1 การเชื่อมประสานแบบเมนู (Menu Interface)คอมพิวเตอร์ของห้องสมุดจะแสดงรายการคำสั่ง โดยแต่ละรายการมีการกำหนดตัวอักษรบนแป้นเป็นตัวชี้บอกให้ผู้ใช้ได้เลือกเคาะแป้นพิมพ์ป้อนคำสั่งตามที่ต้องการโดยใช้เครื่องหมายลูกศร ขึ้น-ลง ซ้าย-ขวา 
                            4.2 การเชื่อมประสานแบบใช้คำสั่ง (Command Oriented Interface) การเชื่อมประสานเหล่านี้ผู้ใช้ต้องพิมพ์คำสั่งที่ต้องการ ซึ่งส่วนใหญ่พื้นที่ในการรับคำสั่งจะอยู่แถวล่างสุดของจอภาพ และพื้นที่ที่เหลือของหน้าจอ อธิบายวิธีการใช้คำสั่ง การเชื่อมประสานแบบนี้ผู้ใช้ต้องจำคำสั่งและโครงสร้างของไวยากรณ์ให้ได้ 
            ข้อดีคือสามารถกำหนดคำสั่งให้ซับซ้อนกว่าระบบเมนูโดยเฉพาะการสืบค้นเทคนิกแบบตรรกบู
ลิน ซึ่งผู้ใช้สามารถกำหนดคำเชื่อมได้มากกว่า
                            4.3 การเชื่อมประสานแบบภาพ (Graphic User Interface) เป็นการเชื่อมประสานด้วยรูปภาพโดยใช้ Icon, Scrollbars, Pull-down, Menu Mutiple, Window เป็นการทำงานด้วยระบบ Window เป็นหลัก ผู้ใช้ป้อนสำสั่งโดยการใช้เมาส์ให้ดำเนินการสืบค้นสารนิเทศ


แหล่งที่มา : http://mulic.comuf.com/index.php?option=com_content&view=category&id=36&Itemid=11
                    

WEB OPAC คือ


web opac
       WEB OPAC คือ ฐานข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศ (Online Public Access Catalog - OPAC) เป็นฐานข้อมูลรายการบรรณานุกรมที่หน่วยงาน สถาบันหรือแหล่งบริการสารสนเทศนั้นๆ จัดทำขึ้น เพื่อเป็นเครื่องมือช่วยค้นหาและชี้แหล่งทรัพยากรให้กับผู้ใช้ในการค้นหาหนังสือ บทความวารสาร โสตทัศนวัสดุ รายงานการวิจัย วิทยานิพนธ์ ฯลฯ ซึ่งมีความสะดวก รวดเร็วและค้นหาได้ตลอด 24 ชั่วโมง เนื่องจากแหล่งบริการสารสนเทศส่วนใหญ่ใช้ระบบออนไลน์บนอินเตอร์เน็ต การสืบค้นสามารถทำได้ง่าย เช่น การค้นด้วยชื่อผู้แต่ง ชื่อเรื่อง หัวเรื่อง คำสำคัญ เลขเรียกหนังสือ ซึ่งใช้หลักการสืบค้นเช่นเดียวกับการ สืบค้นด้วยบัตรรายการ
          WEB OPAC (Online Public Access Catalog - OPAC) เป็นฐานข้อมูลรายการบรรณานุกรมที่หน่วยงาน สถาบันหรือแหล่งบริการสารสนเทศนั้นๆ จัดทำขึ้น เพื่อเป็นเครื่องมือช่วยค้นหาและชี้แหล่งทรัพยากรภายในห้องสมุดนั้น เช่น หนังสือ บทความวารสาร โสตทัศนวัสดุ รายงานวิจัย วิทยานิพนธ์ ฯลฯ ซึ่งมีความสะดวก รวดเร็วและค้นหาได้ตลอด 24 ชั่วโมง แหล่งบริการสารสนเทศส่วนใหญ่ให้บริการบนระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต การสืบค้นสามารถทำได้ง่าย เช่น การค้นด้วยชื่อผู้แต่ง ชื่อเรื่อง หัวเรื่อง คำสำคัญ เลขเรียกหนังสือ บาร์โค้ด ISBN ฯลฯ ซึ่งใช้หลักการสืบค้นเช่นเดียวกับการสืบค้นด้วยบัตรรายการในอดีต
        ห้องสมุดทุกแห่งจัดเครื่อง คอมพิวเตอร์ ไว้สำหรับค้นหาทรัพยากรของห้องสมุด โดยได้จัดเครื่องคอมพิวเตอร์ไว้ประจำอยู่ตามห้องและชั้นต่างๆ ภายในห้องสมุด นอกจากนี้ ผู้ใช้บริการ ยังสามารถค้นหาทรัพยากรสารสนเทศห้องสมุดจากภายนอกผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์ เน็ตของมหาวิทยาลัย หรือค้นหาภายนอกเครือข่ายมหาวิทยาลัยก็ได้ สามารถค้นหาได้ไม่จำกัดเวลาและสถานที่


ประเภทของ Search Engine


ประเภทของ Search Engine ก็มีอยู่หลาย ๆ ประเภท ดังนี้
1. แบบอาศัยการเก็บข้อมูลเป็นหลัก (Crawler-Based Search Engine)
หลักการนี้เป็นการใช้เครื่องมือที่เรียกว่า Crawler-Based Search Engine เป็นเครื่องมือที่ทำการบันทึกและเก็บข้อมูลเป็นหลัก ซึ่งเป็นประเภทSearch Engine ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในปัจจุบัน  ซึ่งการทำงานประเภทนี้ จะใช้โปรแกรมตัวเล็ก ๆ ที่เรียกว่า Web Crawler หรือ Spider หรือที่เรียกอีกอย่างว่า Search Engine Robots หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า บอท ในภาษาไทย www คือเครือข่ายใยแมงมุม ตัวโปรแกรมเล็ก ๆ ตัวนี้ก็คือแมงมุมนั่นเอง โดยเจ้าแมงมุมตัวนี้จะทำการไต่ไปยังเว็บไซต์ต่าง ๆ ทั่วโลกอินเตอร์เน็ต โดยอาศัยไต่ไปตาม URL ต่าง ๆ ที่มีการเชื่อมโยงอยู่ในแต่ละเพจ แล้วทำการ Spider กวาดข้อมูลที่จำเป็นต่าง ๆ (ขึ้นอยู่กะ Search Engine แต่ละที่ว่าต้องการเก็บรวบรวมข้อมูลอะไรบ้าง) แล้วเก็บลงฐานข้อมูล การใช้โปรแกรมกวาดข้อมูลแบบนี้ จึงทำให้ข้อมูลที่ได้มีความแม่นยำ และสามารถเก็บรวบรวมข้อมูลได้เร็วมาก Search Engine ที่เป็นประเภทนี้ เช่น Google Yahoo MSN
2. แบบสารบัญเว็บไซต์ (Web Directory)
Search Engine ที่เป็นแบบนี้มีอยู่หลายเว็บไซต์มาก ๆ ที่ดังที่สุดในเมืองไทย ที่เอ่ยออกไปใครใครคงต้องรู้จัก นั้นก็คือที่สารบัญเว็บของ Sanook.com ซึ่งหลาย ๆ คนคงเคยเข้าไปใช้บริการ หรืออย่างที่ Truehits.com เป็นต้น
ส่งที่เราจะสังเกตเห็นจาก Search Engine ประเภทนี้ก็คือ ลักษณะของการจัดเก็บข้อมูลที่แสดงให้เราเห็นทั้งหมด ว่ามีเว็บอะไรบ้างอยู่ในฐานข้อมูล ซึ่งแตกต่างจากประเภทแรก ที่หากคุณไม่ค้นหาโดยใช้คำค้น หรือKeyword แล้ว คุณจะมีทางทราบเลยว่ามีเว็บไซต์อะไรอยู่บ้าง และมีเว็บอยู่เท่าไหร่
แบบสารบัญเว็บไซต์ จะแสดงข้อมูลที่รวบรวมเว็บไซต์ที่มีทั้งหมดในฐานข้อมูล และจะแบ่งเป็นหมวดหมู่ และอาจจะมีหมวดหมู่ย่อย ซึ่งผู้ค้นหาข้อมูลสามารถคลิกเข้าไปดูได้
หลักการทำงานแบบนี้ จะอาศัยการเพิ่มข้อมูลจากเจ้าของเว็บไซต์ต่าง ๆ ที่ต้องการประชาสัมพันธ์เว็บ หรืออาจใช้เจ้าหน้าที่ที่ดูแลส่วน Search Engine เป็นผู้หาข้อมูลเว็บไซต์มาเพิ่มในฐานข้อมูล ซึ่งข้อมูลในส่วนของสารบัญเว็บไซต์จะเน้นในด้านความถูกต้องของฐานข้อมูล ซึ่งข้อมูลเว็บไซต์ที่ถูกเพิ่มเข้ามาจะถูกตรวจสอบและแก้ไขจากผู้ดูแล
3. แบบอ้างอิงในคำสั่ง Meta Tag (Meta Search Engine)
Search Engine ประเภทนี้จะอาศัยข้อมูลใน Meta tag (อยากรู้ดูในบทความหน้า) ซึ่งเป็นส่วนของข้อมูลที่อยู่ในแท็ก HEAD ของภาษา HTML ซึ่งข้อมูลในส่วนนี้ จะเป็นส่วนที่ให้ข้อมูลกับ Search Engine Robots
Search Engine ประเภทนี้ไม่มีฐานข้อมูลของตนเอง แต่จะอาศัยข้อมูลจาก Search Engine Index Server ของที่อื่น ๆ ซึ่งข้อมูลจะมาจาก Server หลาย ๆ ที่ ดังนั้น จึงมักได้ผลลัพธ์จากการค้นหาที่ไม่แม่นยำ







หลักการทำงาน Search Engine


หลักการทำงาน Search Engine ปัจจัยการทำงานหลักอยู่ 3 ประการ
1. Search Engine ทั้งหลายค้นหาข้อมูลใน Internet และเลือกสรรเว็บเพจต่าง ๆ ออกมาตามคำสั่ง ของผู้ใช้งาน Keyword
2. Search Engine วิ่งเข้าไปเก็บข้อมูลต่าง ๆ เอามาเก็บไว้ในฐานข้อมูล Indexing เพื่อรอการเรียก ค้นหา (Indexing ก็จะคล้ายๆ กับ ดัชนีท้ายเล่มหนังสือนั่นเอง)
3. Search Engine อนุญาติให้ผู้ใช้ค้นหาข้อมูลต่าง ๆ ด้วยการเปรียบเทียบการสอดคล้องระหว่างคำ หรือข้อมูลที่เป็นประโยคสั้น ๆ ที่ใช้ค้นหาใน Index ของ "Search Engine" ดังนั้นก่อนที่ Search Engine จะบอกคุณว่า ข้อมูลที่คุณหาอยู่ในเว็บเพจใดในโลก Internet มันจะต้องมีข้อมูลทั้งหมดอยู่แล้ว เพราะฉนั้นSearch engine จึงมีซอฟต์แวร์อัตโนมัติที่เรียกว่า Spider หรือ Robot ที่จะคอยวิ่ง (Crawling) ไปตามเว็บเพจต่างๆ โดยการใช้ลิงก์มากมายเป็นถนม ให้มันวิ่งผ่านแล้วเอาข้อมูลหรือเนื้อหาของเว็บเพจเหล่านั้นมาเก็บใส่ Index ของมันเอาไว้เพื่อเตรียมการรอว่าเมื่อไหร่จะมีใครมาค้นเจอนอกจากการใช้ลิงก์ในการเก็บข้อมูล ยังมีอีกสิ่งที่เป็นตัวกระตุ้นโดยสามารถ เรียกเจ้า Spider ให้เข้ามาเก็บข้อมูลได้อีกคือ ความนิยมของเพจนั้น ๆ เพราะเจ้า Spider มันจะวิ่งเข้าหาเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เก็บไฟล์เว็บเพจนั้น (Server) ที่มีอัตราการใช้อย่างหนักหน่วงในแต่ละวินาที พูดง่ายก็คือเว็บเพจใดที่มีคน
ทั้งหมดที่ว่ามา ก็คือพื้นฐานหลักการทำงานของ "Search Engine" ที่หลายคนอาจไม่เคยรู้ หรือไม่เคยสนใจ แต่หลายคนอาจจะมาาขอบคุณผมที่หลังก็ได้ ถ้าคุณตั้งใจจะทำ "SEO" จริง


แหล่งที่มา : http://seoinwgang.blogspot.com/2010/12/search-engine_08.html


บทบาทของ internet


                               บทบาทของ internet ในชีวิตประจำวัน
         จะเห็นได้ว่าในโลกปัจจุบัน อินเทอร์เน็ต มีความจำเป็นในการใช้งานในชีวิตประจำวันมากจนไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ จึงทำให้มีการเปลี่ยนแปลงของระบบเศรษฐศาสตร์เกิดขึ้น ในความเห็น ของ อลัน กรีนสเปน ( Alan Greenspan ) ผู้ว่าการธนาคารชาติ สหรัฐอเมริกา ผู้มีบทบาทต่อระบบเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา ได้ชี้ให้เห็นว่า อินเทอร์เน็ต กำลังเป็นสิ่งผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจอย่างใหญ่หลวง กรีนสเปนเรียกระบบเศรษฐศาสตร์ใหม่นี้ว่า เศรษฐศาสตร์เครื่อข่าย ( Network Economy ) โดยชี้ให้เห็นถึงโมเดลของระบบการค้าการลงทุน การดำเนินธุรกิจกำลังเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่
          จึงเป็นโอกาสอันดีของธุรกิจที่มีระบบและความพร้อมทางด้านเทคโนโลยีเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว การดำเนินธุรกิจสมัยใหม่โดยใช้ระบบธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์เป็นพลังขับเคลื่อนของระบบเศรษฐกิจ ที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของระบบเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก ด้วยเหตุผลดังกล่าวนี้เอง เกิดมีการพัฒนาระบบเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่องในปัจจุบัน จึงเป็นโอกาสที่เหมาะสมอย่างยิ่งในการที่ท่านตัดสินใจเข้าร่วมธุรกิจกับเรา
แหล่งที่มา : http://www.network.tht.in

วันอังคารที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

การใช้อินเตอร์เน็ตของเยาวชนไทย


การใช้อินเตอร์เน็ตของเยาวชนไทย
      เยาวชนเป็นทรัพยากรที่สำคัญ หากเยาวชนมีคุณภาพ หมายความว่า โอกาสที่ประเทศนั้นจะพัฒนาไปในอนาคตนั้นมีมาก จึงได้มีการส่งเสริมให้มีการพัฒนาเยาวชนในด้านต่างๆ ในเรื่องของการศึกษา ปัจจุบันเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทด้านการเรียนการสอนเป็นอย่างมาก เทคโนโลยีสารสนเทศจะก่อให้เกิดประโยชน์ก็ต่อเมื่อมีการใช้งานที่เหมาะสมรูปแบบการควบคุมให้มีการใช้งานตามวัตถุประสงค์หรือการใช้งานที่เหมาะสม
     นอกจากเนื้อหาต่างๆ ในอินเตอร์เน็ตแล้วสิ่งที่เป็นอันตรายจากการใช้งานในอินเตอร์เน็ตสำหรับเด็กนั้น ยังมีอีกหลายด้าน เช่น ใช้ในการสนทนา ทักทายกับบุคคลอื่นทางหน้าจอคอมพิวเตอร์ที่ไม่รู้จัก จากโปรแกรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Pirch chat icq และแฝงในเว็บไซต์ต่างๆ ที่มีให้บริการกันมากมายเหลือเกิน และกำลังเป็นที่นิยมอย่างมากในหมู่วัยรุ่น หรือบางครั้ง แม้แต่ผู้ใหญ่ หรือวัยทำงานก็ไม่วายที่จะเข้ามาใช้บริการกับเขาด้วย ปัจจุบันนี้มีเกมออนไลน์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเกมที่ค่อนข้างรุนแรง ไม่ได้พัฒนากระบวนการคิดและความคิดริเริ่มสร้างสรรค์นัก แต่เกมต่างๆ เหล่านั้นทำให้เกิดลักษณะนิสัยก้าวร้าว การใช้ความรุนแรง ไม่มีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่นนอกจากจอคอมพิวเตอร์ และธุรกิจนี้ได้ขยายตัวอย่างรวดเร็ว ทำให้เยาวชนหมกมุ่นอยู่กับเรื่องการสนทนาผ่านอินเตอร์เน็ต ซึ่งเยาวชนได้ใช้เวลานี้ไม่ก่อประโยชน์ ใช้เวลาหมดไปวันหนึ่งเท่านั้น และยังเสียเงินค่าเช่าชั่วโมง โดยไม่ได้ความรู้อะไรเพิ่มเติมเลย เสียการเรียน เพราะหมกมุ่นอยู่กับเกม การสนทนาออนไลน์ และยังก่อให้เกิดปัญหาที่รุ่นแรง ดังมีข่าวที่เยาวชน รู้จักกันทางอินเตอร์เน็ต และนัดเจอกัน ก่อให้เกิดคดีข่มขืน และคดีอื่นอีกมากมาย ยืน ภู่วรรณ และสมชาย นำประเสริฐชัย. (2546). กล่าวถึงปัญหาอินเตอร์เน็ตกับเยาวชนไทยไว้ตอนหนี่งว่า สิ่งที่น่ากลัวมากคงเป็นเรื่องชองโรคระบาดทางอินเตอร์เน็ตที่ชื่อว่า IAD (Internet Addiction Disaster) และโรค Webaholic โรคทั้งสองโรคนี้เป็นโรคติดอินเตอร์เน็ตเหมือนกัน มักมีความต้องการในการใช้คอมพิวเตอร์ออนไลน์สูง ซึ่งโรคนี้จะมีผลร้ายทั้งในเรื่องของสุขภาพของผู้ติดเอง ทั้งในเรื่องสายตา ความสมดุลทางอารมณ์และปัญหานี้จะเป็นจุดเริ่มของการก่อตัวสำหรับปัญหาอื่นๆ ที่ตามมา เช่น ประสิทธิภาพของการเรียน และการทำงานลดต่ำลง และค่าใช้จ่ายในการใช้บริการและการเชื่อมต่อสูงมากขึ้น
     โรคติดอินเตอร์เน็ตนี้ส่วนใหญ่เป็นกับเด็กวัยรุ่นทั่วโลก ในประเทศไทยเองก็มีผู้ติดโรคนี้เป็นจำนวนไม่น้อย ส่วนใหญ่มักเป็นนิสิต นักศึกษา ที่ติดการท่องเว็บ ดาวน์โหลดโปรแกรม รูปภาพ ไฟล์ หรือพูดคุยสนทนากับผู้อื่นในอินเตอร์เน็ต โดยจะทำทุกครั้งที่มีโอกาส ไม่ว่าจะดึกเพียงใด หากคนที่ติดอินเตอร์เน็ตนี้ไม่สามารถทำได้จะเกิดอาการหงุดหงิด เป็นทุกข์ เหมือนคนติดยาแต่ไม่ได้เสพ
     นอกจากที่กล่าวมาแล้วยังมีอีกเรื่องหนึ่งที่น่าเป็นห่วง คือการเข้าไปใช้บริการในเว็บไซต์ต่างๆ ที่ไม่เหมาะสม เช่นเว็บไซต์ลามกอนาจาร ที่มีอยู่จำนวนมาก โดยการเข้าไปใช้บริการเว็บนั้นๆ ง่ายดายมาก ถึงแม้ว่าในสถานที่ราชการ หรือสถานศึกษาบางแห่งจะเข้าไปสกัดกั้น ไม่ให้เข้าไปใช้บริการบนเว็บนั้นได้ แต่ก็ไม่สามารถสกัดกั้นได้ เนื่องจากยังมีสถานที่ที่ค่อยรองรับการบริการแบบเช่าชั่วโมงให้กับเยาวชน ซึ่งมีกระจายอยู่ทั่วไป ข้อมูลเว็บไซต์เหล่านั้นมีออกมาหลากหลายรูปแบบ เพื่อดึงดูดความสนใจ ไม่ว่าจะนำเสนอเป็นภาพนิ่ง วีดีโอ ภาพยนตร์ ฯลฯ จึงทำให้ธุรกิจด้านสื่อลามกมีผู้ใช้บริการมากขึ้น จากการที่เยาวชนของเราได้เข้าไปดูในเว็บไซต์ต่างๆเหล่านี้ อาจก่อให้เกิดปัญหาตามมาอย่างมากมาย เช่น ปัญหาการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร ปัญหาโรคเอดส์ ปัญหาครอบครัว ฯลฯ
     จากการปัญหาที่เกิดขึ้น ต้นเหตุปัญหาที่สำคัญไม่ได้อยู่ที่อินเตอร์เน็ต แต่ที่สำคัญอยู่ที่คนของเรา คือผู้ใช้ ไม่มีความพร้อม สำนึกรู้ที่จะใช้ชีวิตในยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) ไม่มีวุฒิภาวะพอที่จะรับรู้ข้อมูลบางเรื่องที่ไม่สามารถวิเคราะห์แยกแยะได้ ไม่สามารถเร่งเห็นถึงคุณประโยชน์ และคุณโทษของเทคโนโลยีสารได้สนเทศ หากแต่ผู้ใช้มีความพร้อมมีศักยภาพพอที่จะจัดการกับตัวเองได้ ผู้ปกครองหมั่นเอาใจใส่ดูแลบุตรหลานของตนในการใช้งานอินเตอร์เน็ต โดยอาจกำหนดช่วงเวลาในการใช้งาน และหากพบว่าไม่สามารถควบคุมหรือเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบุตรหลานได้ก็จำเป็นต้องปรึกษาผู้เชี่ยวชาญหรือจิตแพทย์เพื่อช่วยเหลือ และควรสร้างสัมพันธ์ภายในครอบครัว การมีเวลาอยู่ด้วยกัน ทำกิจกรรมร่วมกันนั้น ช่วยลดปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นในสังคมได้เป็นอย่างดี

วันจันทร์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ประโยชน์ของอินเทอร์เน็ต

ประโยชน์ของอินเทอร์เน็ต

        
  ปัจจุบันอินเทอร์เน็ต มีความสำคัญต่อชีวิตประจำวันของคนเรา หลายๆ ด้าน ทั้งการศึกษา พาณิชย์ ธุรกรรม วรรณกรรม และอื่นๆ ดังนี้
ด้านการศึกษา
          - สามารถใช้เป็นแหล่งค้นคว้าหาข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลทางวิชาการ ข้อมูลด้านการบันเทิง ด้านการแพทย์ และอื่นๆ ที่น่าสนใจ
          - ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต จะทำหน้าที่เสมือนเป็นห้องสมุดขนาดใหญ่
          - นักศึกษาในมหาวิทยาลัย สามารถใช้อินเทอร์เน็ต ติดต่อกับมหาวิทยาลัยอื่น ๆ เพื่อค้นหาข้อมูลที่กำลังศึกษาอยู่ได้ ทั้งที่ข้อมูลที่เป็น ข้อความ เสียง ภาพเคลื่อนไหวต่างๆ เป็นต้น

ด้านธุรกิจและการพาณิชย์
          - ค้นหาข้อมูลต่าง ๆ เพื่อช่วยในการตัดสินใจทางธุรกิจ
          - สามารถซื้อขายสินค้า ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
          - ผู้ใช้ที่เป็นบริษัท หรือองค์กรต่าง ๆ ก็สามารถเปิดให้บริการ และสนับสนุนลูกค้าของตน ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ เช่น การให้คำแนะนำ สอบถามปัญหาต่าง ๆ ให้แก่ลูกค้า แจกจ่ายตัวโปรแกรมทดลองใช้ (Shareware) หรือโปรแกรมแจกฟรี (Freeware) เป็นต้น

ด้านการบันเทิง
          - การพักผ่อนหย่อนใจ สันทนาการ เช่น การค้นหาวารสารต่าง ๆ ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ที่เรียกว่า Magazine o­nline รวมทั้งหนังสือพิมพ์และข่าวสารอื่นๆ โดยมีภาพประกอบ ที่จอคอมพิวเตอร์เหมือนกับวารสาร ตามร้านหนังสือทั่วๆ ไป
          - สามารถฟังวิทยุผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้
          - สามารถดึงข้อมูล (Download) ภาพยนตร์ตัวอย่างทั้งภาพยนตร์ใหม่ และเก่า มาดูได้



แหล่งที่มา : http://blog.eduzones.com/banny/3734

วันอาทิตย์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2555